จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ผลกระทบของโควิด-19 ต่อประชาชนทั่วโลกเกิดทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความเป็นอยู่ของประชาชน ภาวการณ์ตกงานเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน มหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานและเฝ้าระวัง COVID-19 หลักหก” โดยการสร้างทีมงานขึ้นมาเพื่อให้บริการประชาชนในชุมชนหลักหก จังหวัดปทุมธานี โดยมีหน่วยงานร่วมสนับสนุนคือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และเทศบาลตำบลหลักหก การเปิดศูนย์ประสานงานและเฝ้าระวัง COVID-19 หลักหก จึงนับเป็นมิติใหม่ที่สถาบันการศึกษากับชุมชนใกล้ชิดกันอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยชาวหลักหกสามารถไลน์เข้ามาคุยกับมหาวิทยาลัยรังสิตได้ รวมถึงสามารถโทรมาที่เบอร์ Call Center ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น.
มุ่งในเรื่องของการจัดระเบียบที่อยู่อาศัยปทุมธานี ซึ่งในส่วนของมหาวิทยาลัยรังสิตเราอาสาช่วยชุมชนโดยเอาองค์ความรู้จากคณะต่างๆ เข้าไปทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป้าหมายปลายทาง คือโครงการถนนคนเดิน ที่อยากจะทำให้บริเวณหลักหกเป็นแลนด์มาร์คที่ทำให้คนจากที่อื่นๆ อยากนั่งรถไฟฟ้ามาเที่ยวที่นี่
ด้วยประเทศไทยต้องประสบกับภาวการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2562 จวบจนปัจจุบัน ผลกระทบของโควิด-19 ต่อประชาชนทั่วโลกเกิดทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วโลก ภาวการณ์ตกงานของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องการการหดตัวของภาคธุรกิจ
ผลกระทบตรงอีกมุมหนึ่งได้แก่ผลกระทบกับเยาวชนที่กำลังศึกษาและกำลังจะจบการศึกษา ที่มีโอกาสสูงมากที่จะมีโอกาสตกงานหลังการจบการศึกษา ที่อาจส่งผลต่อความเครียดจากการตกงาน ตลอดจนครอบครัวของนักศึกษาที่ต้องแบกรับภาระการเลี้ยงดูต่อเนื่อง หนี้สินที่อาจเพิ่มขึ้นและอื่นๆ ที่มีโอกาสผลักดันให้นักศึกษากลุ่มนี้ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง เช่น สุรา หรือยาเสพติด ที่จะขยายผลกระทบเชิงลบเป็นวงกว้าง
การวางแผนเพื่อลดผลกระทบของบัณฑิตจบใหม่และครอบครัว จึงเป็นสิ่งเร่งด่วน จำเป็น ดังนั้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงมุ่งเน้นสรรหาและจัดสรรงบประมาณเพื่อการสร้างอาชีพและรายได้แนวใหม่ตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างสุขภาวะ ให้กับนักศึกษาที่กำลังจะจบ วางเป้าหมายเพื่อติดอาวุธให้นักศึกษาสามารถหารายได้ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบการสมัครงาน เรียนรู้ที่จะใช้ความรู้จากที่เรียนในชั้นเรียน พัฒนาต่อยอดเพื่อการหารายได้และเป็นอาชีพต่อไป
มหาวิทยาลัยรังสิต โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ตอบรับแนวคิดนี้ และรับทุนสนับสนุนจาก สสส. ภายใต้โครงการสร้างอาชีพและรายได้แนวใหม่ตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างสุขภาวะ กำหนดเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษา โดยอาศัยพื้นฐานของนักศึกษาที่แตกต่างบริบทของแต่ละคณะวิชา โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ของคณะวิชาทำหน้าพี่เลี้ยง สร้างกลุ่มย่อย จำนวน 33 โครงการ แต่ละโครงการจะเพื่อเปิดช่องทางการนำความรู้จากห้องเรียนที่แตกต่างกันตามบริบทของคณะวิชา ฝึกฝนสร้างผลิตภัณฑ์ และอบรมความรู้รองรับอาชีพให้นักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านแผนธุรกิจ การจัดการการเงินเพื่อธุรกิจ ทดลองขายจริง ปรับและพัฒนาเทคนิคการขายการหารายได้ เพื่อเป็นประสบการณ์ให้นักศึกษานำต่อยอดและมีรายได้จริงหลังจบการศึกษา
นอกจากนี้ นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะต้องส่งต่อความรู้ให้ประชากรในชุมชนหลักหก ให้ชุมชนมีความรู้ และแนวทางสร้างรายได้ ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของชุมชนในสถานการณ์วิกฤตตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากสำหรับใช้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)
ได้รับโจทย์มาจากท่านอธิการบดี ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต มีวิสัยทัศน์ในเรื่องการดูแลชุมชน [จากข่าวทางสื่อมวลชนกรณีที่มีผู้ป่วย ไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้จนกระทั่งเสียชีวิต] โดยมหาวิทยาลัยรังสิต ขออาสาเป็นเจ้าภาพช่วยดูแลชาวชุมชนเมืองเอกและหลักหก ซึ่งมีหน่วยงานที่จะร่วมสนับสนุน คือองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กับหน่วยงานพื้นที่ คือเทศบาลตำบลหลักหก
ตามจำนวนประชากร ชาวหลักหกมีอยู่ประมาณ 7,000-8,000 ครอบครัว เราจะทำ Call Center และมี Line@ เพื่อให้ชาวหลักหก มีเพื่อนที่คอยช่วยเหลือเขา เช่น
3.1 งานคัดกรอง ถ้าระแวงว่าอาการแบบนี้ติดโควิดไหม
3.2 ถ้ามีอาการไข้ เราประสานงานติดต่อโรงพยาบาลให้
3.3 เป็นที่ปรึกษา ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยง ไม่รู้ว่าจะแยกตัวในบ้านอย่างไร (Home Isolation)
3.4 รถฉุกเฉินนำส่งผู้ป่วย และ
3.5 สนับสนุนอาหารระหว่างกักตัว
นี่จะเป็นมิติใหม่ที่สถาบันการศึกษากับชุมชนใกล้ชิดกันอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยชาวหลักหกสามารถไลน์เข้ามาคุยกับม.รังสิตได้ รวมถึงสามารถโทรมาที่เบอร์ Call Center 0-2791-6099 ซึ่งเบอร์กลางนี้จะส่งต่อไปยังโทรศัพท์มือถือส่วนตัวของอาจารย์จากคณะเทคนิคการแพทย์จำนวน 15 คน รวมถึงยังมีคุณ 2 คุณหมอ คือ ผศ.นพ.ชัยสิทธิ์ แสงทวีสิน และ ผศ.นพ.วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อีกด้วย